วันพฤหัสบดี, มีนาคม 30

ระบบข่นส่งถ่ายวัสดุอัตโนมัติ


รถAGV


https://www.youtube.com/watch?v=W0vr-Eomxr8

ประโยชน์ของรถ AGV

รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ (Automated Guided Vehicles)

A[AGV6.JPG]

           รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (AGV)
                เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น
                ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง  การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น  ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา  แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor) ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์ (on-board computers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ  ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี(terminal) วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (bar code) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ  การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้  หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
                   
ประโยชน์ที่ได้รับ

- ลดต้นทุนการผลิต
- มีการวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บริหารบุคลากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
- ลดอุบัติเหตุ

  1. ง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาต่อสายเพื่อชาร์ทไฟเข้าแบตเตอรี่
  2. สามารถใช้งานรถAGV ได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
  3. ปลอดภัยจากอันตรายที่เกิดจากการ Spark ของแบตเตอรี่ ขณะที่ต่อสายชาร์ท
  4. ทำให้ไม่ลืมชาร์ทแบตเตอรี่ เพราะทุกครั้งที่รถหยุดที่จุดที่กำหนด จะมีการชาร์ทไฟเข้าแบตเตอรี่ทันที
  5. มี LED แสดงสถานะการใช้งานของแบตเตอรี่ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
  6. มีวงจรตัดการชาร์ท เมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้ว
ทุกวันนี้รถลำเลียงอัตโนมัติหรือรถ AGV (Automatic Guide Vehicle) ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก  เนื่องจากรถ AGV สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการขนส่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการกระบวนผลิตแบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องใช้คนในการบังคับการเคลื่อนที่ของรถ  ทำให้สามารถประหยัดในเรื่องของแรงงานคนและเวลาได้เป็นอย่างดี
แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีในรถ AGV ทุกคัน ในทุกวันนี้การชาร์ทไฟให้กับแบตเตอรี่ ยังคงใช้วิธีการต่อสายเพื่อชาร์ทไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลาในการใช้งานรถ  แต่AGV Remote  Power Supply System  จะเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนทำให้ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการชาร์ทไฟให้กับแบตเตอรี่



ระบบสายพานลำเลียง 


https://www.youtube.com/watch?v=JKBA0MF3wvo




ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน

ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 9

เครื่องจักร NC DNC CNC


เครื่องจักร NC DNC CNC

ให้นักศึกษาหา ความหมายของ  NC DNC CNC

                 

     ความหมายของ NC

NC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.
ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.

ให้หาตัวอย่างภาพเครื่องจักร nc และcnc และอธิบายลักษณะการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ลงในบล็อกเกอร์

                         เครื่องจักรNC คืออะไร
สามารถทำงานโดยอัตโนมัติ
โปรแกรมการทำงานได้
ควบคุมด้วยรหัส ที่ประกอบด้วย ตัวหนังสือ ตัวเลข และ สัญลักษณ์
                      
                    ลักษณะงานที่เหมาะกับเครื่องจักรกลNC
ชิ้นงานต้องการความเที่ยงตรงสูง
มีความซับซ้อน
มีการดำเนินงานหลายอย่างบนชิ้นงาน
การเปลี่ยนแปลงแบบมีบ่อยครั้ง
ชนิดของNCแกนหลักอยู่แนวนอน ชิ้นงานหมุน
               Turning Machine ,Lathe เครื่องกลึง
แกนหลักอยู่แนวตั้งฉากกับพื้น ใบมีดหมุน
               Milling Machine

ส่วนประกอบของเครื่องจักรNC
Spindle เพลาหลัก (rpm)
Work table โต๊ะงาน (milling)
Tool ใบมีด
ระบบน้ำมันหล่อลื่น
ระบบเป่าทำความสะอาด 

   
ความหมาย เครื่อง CNC

 เป็นเครื่องจักรที่ใช้ระบบควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาจากคำว่า Computerized Numberical Control   ประเภท เครื่องจักรที่มีสมรรถนะในการผลิตสูงในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบ CNC ทั้งสิ้น แต่จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ที่มีความแตกต่างกันในการผลิต เอ็มวาสฯ จะเกี่ยวข้องกับงานขึ้นรูปโลหะด้วยเครื่องจักร CNCเกือบทั้งหมดมีส่วนน้อยที่เกี่ยวกับอาหารและงานไม้ประเภทของการขึ้นรูปโลหะ 1.งานโลหะแผ่น เช่น งานม้วน งานพับ งานเชื่อมประสาน งานปั๊ม (Press)งานตัด 2.งานโลหะที่เป็นก้อน (ไม่กล่าวถึงงานหล่อ) เช่น งานหล่อ งานกลึง งานกัด ตัด ไส เจียระไน ตะไบ เจาะ เอ็มวาสฯ จะเกี่ยวข้องกับงานซ่อมเครื่องจักรที่ขึ้นรูปประเภทนี้ เป็นส่วนใหญ่                                         





หลักการทำงานของเครื่องจักร CNC
    เครื่องซีเอ็นซี (CNC) มีระบบควบคุมที่ป้อนข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของเครื่องผ่านแผงคีย์บอร์ด หรือแป้นพิมพ์ (Key Board) หรือเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จ ก็จะนำไปควบคุมให้เครื่องจักรกลทำงาน โดยอาศัยมอเตอร์ป้อน (Feed Motor) เพื่อให้แท่นเลื่อนเคลื่อนที่ตามคำสั่ง เช่น เครื่องกลึง ซีเอ็นซี (CNC Machine) ก็จะมีมอเตอร์ในการเคลื่อนที่อยู่ ตัว หรือเครื่องกัด ซีเอ็นซี ก็จะมีมอเตอร์ป้อน ตัว เมื่อระบบควบคุมอ่านโปรแกรมเสร็จ จะเปลี่ยนรหัสโปรแกรมเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน แต่เนื่องจากสัญญาณที่ออกจากระบบควบคุมนี้มีกำลังน้อย ไม่สามารถไปหมุนขับให้มอเตอร์ทำงานได้ ดังนั้น จึงต้องส่งสัญญาณนี้เข้าไปในภาคขยายสัญญาณของระบบขับ (Drive Amplified) และส่งสัญญาณต่อไปยังมอเตอร์ป้อนแนวแกนตามที่โปรแกรมกำหนด ทั้งความเร็วและระยะทาง การเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อนจะถูกโปรแกรมไว้ทั้งหมด เพื่อควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซี (CNC) และมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ตรวจสอบตำแหน่งของแท่นเลื่อนให้ระบบควบคุม เรียกว่า ระบบวัดขนาด (Measuring System) ซึ่งประกอบด้วยสเกลแนวตรง (Liner Scale) มีจำนวนเท่ากับจำนวนแนวแกนในการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกล ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับระยะทางที่แท่นเลื่อนเคลื่อนที่กลับไปยังระบบควบคุม ทำให้ระบบควบคุมรู้ว่าแท่นเลื่อนเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทางเท่าใด
    จากหลักการควบคุมการทำงานดังกล่าว ทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีสามารถผลิตชิ้นงานให้มีรูปร่าง และรูปทรงให้มีขนาดตามที่เราต้องการได้ เนื่องจากการสร้างและการทำงานที่เหนือกว่าเครื่องจักรกลทั่วไป จึงทำให้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากในปัจจุบันนี้ หากต้องการผลิตสินค้าให้ได้จำนวนมากๆ และลดจำนวนระยะเวลาการผลิตของสินค้า

การทำงานของเครื่องซีเอ็นซี (CNC)
    CNC (Computer Numerical Control) คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ผลิต หรือขึ้นรูปชิ้นงานที่มีมาตรฐานสูง ผ่านระบบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องซีเอ็นซี ในขั้นตอนต่างๆ อย่างอัตโนมัติ แทนการใช้แรงงานคนควบคุมเครื่อง
การควบคุมเครื่องซีเอ็นซี แบ่งออกได้เป็น ส่วน คือ
1. การควบคุมการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (Movement)
2. การควบคุมความเร็วของการเคลื่อนที่ (Speed)



   เครื่อง DNC
แบบที่ใช้ในอุตสากรรมมีข้อจำกัดด้านหน่วยความจำที่จะเก็บโปรแกรมทั้งหมดไว้ในเครื่อง จึงต้องพึ่งเครื่องคอมฯอีกเครื่องที่ค่อยทยอยส่งโปรแกรมเข้าไปกัดชิ้นงาน ซึ่งผู้ผลิตเครื่องจะมีซอฟท์แวร์ DNC สำหรับทำหน้าที่ดังกล่าว













สิ่งที่ชอบ

1.สีน้ำตาล
2.ชอบเลี้ยง ปลา กุ้ง
3.ออนิวดีแม็ค
4.มาดริด






ชื่อ นาย ศิริศักดฺิ์ ว่องเจริญวัฒนา


ชื่อเล่น บ่าว

รหัสนักศึกษา 59672057

เพศชาย

เบอร์โทร 0862817431